|
|
|
ชาวบ้านในตำบลสุขเดือนห้า มีสภาพความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
โดยชาวบ้านส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ และมีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นศูนย์รวมของการทำกิจกรรมทางศาสนา
ในวันสำคัญต่างๆ และเนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งเอื้อต่อการทำการเกษตร ทำให้ประชาชนที่นี่ส่วนใหญ่
ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม และในการดำเนินชีวิต ชาวบ้านก็ได้นำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง มาประยุกต์ใช้ใน
ชีวิตประจำวันด้วย |
|
|
|
|
|
|
|
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มี วัด จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ |

 |
วัดหนองยาง |
ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 |

 |
วัดวังคอไห |
ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 |

 |
วัดหนองเด่น |
ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 |

 |
วัดสุขเดือนห้า |
ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 |

 |
วัดห้วยสอง |
ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 10 |
|
|
|
|
|
|
|

 |
โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ |
|

 |
โรงเรียนบ้านสุขเดือนห้า |

 |
โรงเรียนบ้านหนองยาง |

 |
โรงเรียนบ้านวังคอไห |

 |
โรงเรียนบ้านหนองเด่น |
|
(โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตจังหวัดชัยนาท เปิดสอนระดับ ป.1 – ป.6 และ ม.1- ม.3) |

 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง (อยู่ในความดูแลของ อบต.สุขเดือนห้า) ได้แก่ |
|

 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองยาง |

 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบล
สุขเดือนห้า |
|
|
|
|
|
|
|
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชาชนส่วนมากมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง
โรคที่มักเกิดแก่ประชาชนในหมู่บ้าน ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน โรคเอดส์ โรคไข้เลือดออก มือ-ปาก-เท้าในเด็ก |
หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ได้แก่ |

 |
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุขเดือนห้า |

 |
คลินิกเอกชน จำนวน 2 แห่ง |
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 |
|
|
|
|
|
|
|
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือน และเหลือเอาไว้จำหน่ายบ้าง ได้แก่ |

 |
ผ้าที่ทอจากผ้าฝ้ายและผ้าไหม |

 |
เครื่องจักรสานที่ทำจากไม้ไผ่ |
|
|
|
|
|
|